HOME FOR ELDERLY SOCIETY
HOME FOR ELDERLY SOCIETY
การออกแบบและก่อสร้างบ้านสำหรับรองรับสังคมสูงอายุ ต้องเข้าใจก่อนว่า นิยามตัวนี้ไม่ใช่หมายถึง บ้านผู้สูงอายุ ที่ให้คนสูงอายุ ที่ดูแลตัวเองไม่ได้มาอยู่และมีพยาบาลดูแล แต่นิยาม CONCEPT ตัวนี้ คือเน้น การออกแบบเป็นปัจจัยหลัก ต้องยอมรับว่าการออกแบบบ้านทั่วไปไม่ได้เน้น ที่ FUNCTION เป็นปัจจัยหลัก แต่มักเน้นความสวยงามมาก่อน
สำหรับเรา บริษัท IPPO เราเห็นว่าควรจัดเรียงความสำคัญดังนี้
- FUNCTION การใช้งานให้เหมาะสม
- เพศ/วัย
- การออกแบบเพื่อให้สวยงาม ให้สอดรับกับ ข้อ 1 และ ข้อ 2
ทางบริษัทอิปโปะ จึงเร่งเห็นและเกิดแนวความคิดในการออกแบบ เพื่อเจาะจงกับกลุ่มสังคมสูงอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมไทย ที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเต็มตัว
ทำไมเราจึงต้องเจาะจงสำหรับสังคมสูงอายุ ทำไม ทำไม?
จากบทความวิชากร เรื่องการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย
ปัจจุบันสังคมไทยกําลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสําคัญ คือ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนจํานวนประชากรในวัยทํางานและวัยเด็กลดลง เนื่องจากอัตรา การเกิดและอัตราการตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ทําให้ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยก็ดําเนินไปเช่นเดียวกับนานาประเทศ กล่าวคือ การดําเนินนโยบาย ด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวที่ประสบผลสําเร็จ ตลอดจนความก้าวหน้าในการพัฒนา ประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีสุขภาพดีมีอายุยืนยาวขึ้น และมีโอกาสได้รับ การศึกษาที่สูงขึ้น มีความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพ ตลอดจนการวางแผนครอบครัว ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลสําเร็จดังกล่าวทําให้ภาวการณ์เจริญพันธุ์และอัตราการเกิดมีแนวโน้ม ที่ลดลง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของประชากร กล่าวคือ ประชากรที่อยู่ในวัยสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 20% และอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14% โดยประเทศไทย ได้นิยามคําว่า ผู้สูงอายุ ไว้ใน พระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. 2546 ว่าหมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็นประเด็นที่ได้รับ ความสนใจกันเป็นอย่างมากทั้งในระดับชาติและในระดับโลก เนื่องจากมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รายได้ต่อหัวของประชากร การออม และการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล การจ้างงานและผลิตภาพของแรงงาน และระดับจุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเตรียม ความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนสําคัญที่ต้องการการวางแผน อย่างเป็นระบบและเริ่มดําเนินการล่วงหน้า เนื่องจากมาตรการต่างๆ หลายประการล้วนแล้วแต่ต้อง ใช้เวลาในการดําเนินการ กว่าจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
จากข้อมูลวิชาการด้านบน เราจึงเห็นว่าการออกแบบสำหรับสังคมสูงอายุสำคัญ